ติวสอบO-Net ป.6-ม.3-ม.6
O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ.(สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) หรือ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
การสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ภาษาอังกฤษ
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- สุขศึกษาและพลศึกษา
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ศิลปะ
|
|
และนอกจาก O-NET จะใช้เป็นตัววัดระดับการศึกษาของเด็กไทยแล้ว ยังเป็นคะแนนที่น้องๆระดับชั้นต่างๆต้องนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนระดับชั้นต่อไปด้วย ก็คือ น้องๆชั้น ป.6 และ ม.3 ต้องใช้คะแนน O-NET สมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม. 4 โดยให้น้ำหนัก 20% (โดยจะมีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป) และสำหรับน้อง ม.6 ใช้คะแนน O-NET ในการสมัคร Admission 30%
ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงตัวข้อสอบ O-NET อยู่นิดนึงสำหรับข้อสอบของน้องๆ ป.6 และ ม.3 เป็น ข้อสอบ O-NET ฉบับสั้น จะมีการเอา 8 วิชากลุ่มสาระฯมาย่อยให้เหลือ ข้อสอบ 2 ฉบับ โดยที่ฉบับ A จะประกอบไปด้วย สังคมฯ อังกฤษ คณิตฯ และฉบับที่ B จะมีภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาพลศึกษาศิลปะ และยังมีการแบ่งอีกนะครับว่า ถ้าเป็นน้อง ป.6 จะมีชุด 61A กับ 62B และ 62A กับ 62B ซึ่งชุดข้อสอบ 61กับ62จะมีเนื้อหาเหมือนกันแต่ไม่ตรงข้อกันจะแจกสลับให้กับน้องๆเพื่อป้องกันการทุจริต ส่วนน้อง ม.3 ก็จะเป็น 91C กับ 91D และ 92C กับ 92D ส่วน O-NET ของน้อง ม.6 ยังเหมือนเดิมครับ
และก็คงมีคำถามว่าแล้วถ้าเป็นเด็กอินเตอร์ เด็กซิ่ล เด็กนอกละ ต้องสอบไหม! ก็ต้องสอบเหมือนกันถ้าโรงเรียนอินเตอร์แห่งนั้นสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ สทศ.ก็จะทำการจัดสอบให้ และถ้าเป็นเด็กนอกที่ต้องการสอบ O-NET ก็ต้องทำการสอบเทียบ ม.6 ก่อน และต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการด้วย ซึ่งก็สามารถมายื่นสมัครสอบได้ในช่วงเดือน พฤศจิกายนของทุกปี
- NT และ O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น เมื่อเรียนครบ 3 ปี โดยจะทดสอบที่ชั้นสูงสุดของช่วงชั้นนั้นๆ
- การสอบ O-NET และ NT ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสอบ O-NET และ NT เป็นคนละหน่วยงานกัน และ การสอบทั้งสองแบบ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
- NT หรือ National Test จัดสอบโดย สพฐ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน O-NET จัดสอบโดย สทศ. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
- ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น (12 ปี) คือ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)
- ในปีการศึกษา 2551 สพฐ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 หรือ ป.3 ส่วน สทศ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6
1) ม.6 จะใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่ง สอบวิชา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ และการเงินอาชีพฯ รวม 8 กลุ่มสาระฯ
2) ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา
3) ป.6 สอบในโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกแห่ง ยังจะจัดสอบประเมินนักเรียนทุกคนในชั้น ป.2 ป.5 และม.2 อีกด้วย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนที่จะจบช่วงชั้นในปีต่อไป
- ทีผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนนมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ และวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- นักเรียนจะจบการศึกษาแต่ละช่วงชั้นได้ ต้องสอบ O-NET เป็นหน้าที่โดยเฉพาะ ม.6 จะต้องสอบ O-NET ทุกคน เพราะนอกจากจะเป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว โรงเรียนยังจะนําผลคะแนนไปกรอกในแบบ ป.พ.1 ในช่องผลการประเมินระดับชาติ
- นักเรียน สามารถนำคะแนนที่ได้ไปยื่นเลือกคณะ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังมีนโยบายนํา O-NET ไปถ่วงน้ำหนักคะแนน GPA อีกด้วย
|